โรคสายตาขี้เกียจ
บางคนอาจจะไม่เคยได้ยิน โรคสายตาขี้เกียจมันเป็นยังไงแล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไร พบเจอในวัยไหน วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันค่ะ ว่าโรคทางสายตาที่ว่านั้น เป็นอย่างไร มาทำความรู้จักและความเข้าใจกันดีกว่า
การมองเห็นภาพลดลง ผลจากความผิดปกติของการพัฒนาการของการมองเห็นในทารก หรือช่วงวัยเด็ก สายตาขี้เกียจเกิดจากการขนส่งกระแสรับภาพระหว่างตาและสมองทำงานไม่เต็มที่ ทำให้สมองรับภาพจากตาเพียงข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง หรือสมองเพิกเฉยต่อการรับภาพของตาข้างที่ด้อยกว่า ทำให้การมองเห็นตาข้างนั้นลดลง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา จะทำให้ตามัว การมองเห็นลดลงอย่างถาวร
มารู้จักโรคตาขี้เกียจ
อาการของสายตาขี้เกียจ
- ตาเข
- ตาสองข้างไม่ทำงานประสานกัน
- มีสายตาสั้น ยาว เอียงที่มากเกินไป หรือไม่เท่ากันระหว่างตา 2 ข้าง
- มองภาพไม่ชัด โดยเฉพาะภาพทีมีความละเอียดสูง
สาเหตุของสายตาขี้เกียจ
- การทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวดวงตาทำงานไม่สมดุลกัน
- การเบี่ยงเบนสายตามาใช้ตาเพียงข้างใดข้างหนึ่ง เช่นมีการติดเชื้อ หรือเป็นต้อกระจกบริเวณตาข้างขวา ทำให้ใช้เพียงตาข้างซ้ายในการมองเห็น
- มีสายตายาว สั้น หรือเอียงทั้งสองข้างมากเกินไป หรือไม่เท่ากันทั้งสองข้าง
- ความบกพร่องของอวัยวะรับภาพ หรือแปลผลภาพ เช่น เส้นประสาทตาฝ่อ แผลบริเวณจุดรับภาพในจอตา และการเสียหายของสมองส่วนที่แปลภาพจากการขาดออกซิเจน
การพบแพทย์
ปกติในเด็กกุมารแพทย์จะตรวจการมองเห็น ดูการตอบสนองของเด็กเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจร่างกายทั่วไป หากแพทย์ หรือผู้ปกครองสงสัย ว่าเด็กมีสายตาขี้เกียจ สามารถปรึกษาจักษุแพทย์ ได้ทันที และสำหรับเด็กทั่วไปแนะนำให้มาตรวจตาอย่างละเอียดครั้งแรก เมื่อมีอายุระหว่างอายุ 3-5ปี
วิธีการรักษาโรคสายตาขี้เกียจ
- การรักษาโดยการผ่าตัด : กรณีที่สามารถทำการผ่าตัดเพื่อรักษาได้ เช่น ผ่าตัดต้อกระจก, เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา, หนังตาตก ควรได้รับการผ่าตัดก่อน จากนั้นจึงค่อยรับการทำการพัฒนาการมองเห็น โดยการปิดตาข้างที่ดีกว่าเพื่อกระตุ้นให้ดวงตาอีกข้างที่ด้อยกว่าได้ถูกใช้งานบ้าง
- การรักษาโดยการใช้แว่นสายตา : ในกรณีที่สายตาขี้เกียจจากปัญหาความผิดปกติทางสายตา จะเริ่มโดยการใช้แว่นสายตาก่อน ซึ่งหากเด็กเริ่มมองเห็นชัดจากการใช้แว่น ก็ถือเป็นการกระตุ้นพัฒนาการในการมองเห็นได้
- การรักษาในกรณีที่มีตาเหล่ หรือเริ่มมีอาการตาขี้เกียจแล้ว : จะกระตุ้นโดยการปิดตาข้างที่ดี เพื่อให้ตาข้างที่ด้อยกว่าได้รับการใช้งาน ซึ่งควรปิดอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง จนกว่าสายตาทั้งสองข้างจะมองเห็นปกติ แต่ละรายอาจจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
นารีสนทนา : “ตาขี้เกียจ” โรคนี้สำคัญไฉน?
ทั้งนี้การรักษาโรคสายตาขี้เกียจมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากคุณพ่อคุณแม่ เริ่มตั้งแต่สังเกตพฤติกรรมในการมองของลูก หากพบอาการผิดปกติควรรีบพาไปพบจักษุแพทย์ และหากต้องการได้รับการรักษา เช่น การปิดตานั้น ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในความสำเร็จของการรักษา โดยจะต้องดูแลให้เด็กปิดตาในข้างที่กำลังรักษาตามเวลาที่แนะนำ หากเด็กไปโรงเรียนแล้วถูกเพื่อนล้อ อาจจะต้องคอยให้กำลังใจ และพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อตรวจติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
โรคตาขี้เกียจนี้ สามารถรักษาได้หากพบอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ ดังนั้น ทางที่ดีควรหมั่นสังเกตุบุตรหลานของท่าน หรือพาไปตรวจเช็คสายตากับจักษุแพทย์ก่อนวัยเข้าเรียนก็จะช่วยป้องกันปัญหาได้อีกทางหนึ่ง ปัญหาของดวงตาจึงสำคัญเพราะฉะนั้นไม่ควรมองข้าม ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยด้วยเช่นกัน
มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน - 89%
89%
คะแนนโหวต
ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์กับคุณแค่ไหน?